บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พญานาคเล่นน้ำ


หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ พาดหัวข่าวเมื่อ 19 สิงหาคม 2554 ว่าคนเรือนแสนแห่เข้าบึงกาฬชม พญานาคเล่นน้ำกลางบึงโขงหลง

ต่อมา ในวันที่ 30 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ พาดหัวข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ว่า “มองพญานาคเล่นน้ำที่บึงโขงหลงในมุมนักวิทยาศาสตร์” 




รายละเอียดของข่าว ที่ตัดเรื่องย่อยออกไปบ้าง ก็เป็นดังนี้

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดเวที วิเคราะห์ปรากฏการณ์คลื่นน้ำปริศนาในแบบวิทยาศาสตร์ จุฬาฯขึ้นเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 54

โดย ผศ.ดร. พงษ์ ทรงพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ และ ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มาร่วมเสนอมุมมองในทางวิทยาศาสตร์

ผศ.ดร. เจษฎาได้ลองตั้งสมมติฐานถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาจจะเป็นไปได้ ซึ่งบางคนคิดว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเกิดจากงูขนาดใหญ่

แต่เมื่อเปรียบเทียบภาพการเคลื่อนที่ของงูจะพบความแตกต่าง นั่นคือ งูจะไม่ว่ายน้ำแบบดำผุดดำว่าย แต่จะพยายามยกหัวตลอดเวลาเพื่อหายใจ

และไม่อยู่กับที่แต่จะบิดตัวซ้ายขวาแล้วเคลื่อนที่ไปข้างหน้า

หรืออาจจะเป็นฝูงปลา ซึ่งฝรั่งก็มีความเชื่อเรื่องสัตว์ประหลาด โอโกโปโก” (Ogopogo) แต่แท้จริงแล้วคือ ปรากฏการณที่ปลาว่ายน้ำเป็นฝูง

และจะเห็นภาพปลากระเด็นเป็นจุดๆ ด้วย หากแต่ในคลิป พญานาคเล่นน้ำไม่เป็นเช่นนั้น

อีกอย่างที่ ผศ.ดร.เจษฎากล่าวว่า หลายคนลืมคิดคือบึงโขงหลงนั้นเป็นบึงขนาดใหญ่ที่อยู่ห่างออกมาจากลำน้ำโขง และเป็นแหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติขนาดใหญ่

ซึ่งมีคนเข้าไปศึกษาวิจัยกันเยอะ เพื่อเก็บข้อมูลว่าที่บึงดังกล่าวมีนกอะไรบ้าง ปลาอะไรบ้างและสิ่งมีชีวิตอะไรบ้าง

ซึ่งจากการอ่านรายงานการวิจัยในบริเวณดังกล่าว ยังไม่มีใครพบปลาขนาดใหญ่ในแหล่งธรรมชาตินี้

และยังมีรายงานอีกว่า ทั่วโลกมีภาพคล้ายๆ พญานาคเล่นน้ำนี้อยู่ในทะเลสาบขนาดใหญ่ เช่น ที่ทะเลสาบเนสซี (Nessie) ในสก็อตแลนด์ ก็มีการบันทึกภาพลักษณะเช่นนี้ได้จำนวนมาก

ส่วนภาพ สัตว์ประหลาดเนสซีที่โด่งดังนั้นในภายหลังมีผู้ออกมายอมรับทำปลอมขึ้นจากการติดหุ่นลงบนเรือดำน้ำ

ทางด้าน ผศ.ดร. พงษ์ในฐานะนักฟิสิกส์ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ใช้เพียงหลักการสะท้อนแสง การหักเหและการสะท้อนหลับหมด

ซึ่งเป็นความรู้ระดับ ม.ปลายก็สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ มีคำถามว่า เราจะเห็นวัตถุใต้น้ำเป็นสีดำได้หรือไม่ ซึ่งจากหลักการหักเหแสงเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลาง 2 ชนิด จะเกิด แสงหักเหที่ทำมุมมากกว่า แสงตกกระทบเสมอ

และจะมีส่วนหนึ่งเป็น แสงสะท้อนกลับเข้าไปนั้น และเมื่อตกกระทบของแสงกว้างประมาณ 48 องศา จะไม่มีแสงออกมาจากน้ำเลย

อย่างไรก็ดี การเปิดเวทีให้ข้อมูลในมุมวิทยาศาสตร์ต่อปรากฏการณ์ พญานาคที่หลายคนสนใจนั้น

ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ให้ความเห็นว่า จัดเวทีดังกล่าวขึ้นโดยไม่ได้มีเจตนาลบหลู่ความเชื่อหรือฟันธงลงไปว่า พญานาคมีจริงหรือไม่

หากแต่เพียงต้องการนำเสนอว่ามีความเป็นไปได้ในทางวิทยาศาสตร์อย่างไรบ้าง

ส่วนพญานาคจะมีจริงหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุลพินิจของแต่ละคน

โดยสรุปก็คือ นักวิทยาศาสตร์ยอมรับไม่ได้กับเรื่องดังกล่าวจึงต้องออกมาเสนอมุมมองของตน

ก็ยังดีว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่กล้า “ฟันธง” ว่าเป็นเรื่องโกหกหลอกลวง ได้แต่เพียงเสนอความเป็นไปได้ในทางวิทยาศาสตร์

ส่วนผมเองในฐานะนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักปฏิบัติธรรม ผมฟันธงเลยว่า นักวิทยาศาสตร์กลุ่มดังกล่าว “มั่ว” ไม่ได้ทำตัวแบบนักวิทยาศาสตร์เลย

ผมมีเหตุผลของผมดังนี้

1) หลักการที่ทำให้วิทยาศาสตร์มีชื่อเสียงและเป็นธงชัยในการหาความรู้จนกระทั่งพัฒนาโลกในด้านวัตถุได้อย่างประหลายมหัศจรรย์นั้น คือ การปลอดค่านิยม (value free)

คือ ในการศึกษาเรื่องใดๆ ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์จะต้องไม่มีความลำเอียง  ต้องตั้งตัวเป็นกลางเอาไว้ก่อน

ในกรณีนี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์นั้น “ไม่เชื่อ” มาก่อนแล้ว ท่านเห็นว่า พญานาคเล่นน้ำนั้น เป็นไปไม่ได้ จึงออกมาปฏิเสธ

2) นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ ไม่ได้ลงไปที่เกิดเหตุจริง ได้แต่ “เดาแบบมั่วนิ่ม” ไปตามเหตุผลของตัวเอง อย่างนี้ นักวิทยาศาสตร์เขาไม่ทำกัน  นักปรัชญาเขาจะทำแบบนี้

นักวิทยาศาสตร์ชุดนี้เข้าข่าย “โง่งมงาย” อย่างสุดลิ่มทิ่มประตู เพราะ งมงายอยู่ในความเชื่อว่า “วิทยาศาสตร์เป็นความจริงที่สุด

3) นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ ไม่อธิบายถึงความเป็นมาของปรากฏการณ์ครั้งนี้เลย เรื่องของเรื่องก็คือ
“ปู่อือลือ” พญานาคนั้น มาเข้าฝัน ผกก. สภอ. บึงโขงหลง

อย่าลืมนะครับว่า คนที่แพร่ข่าวนี้ออกมาคือ ผู้กำกับการ ไม่ใช่ตาสีตาสาหรือคนขี้เมา  แล้วคนมาดูกันเป็นแสน 

พญานาคก็มาตรงเวลาด้วย

ทำไมนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ ไม่อธิบายเหตุการณ์นี้เข้าไปด้วยว่า เป็นไปไม่ได้อย่างไร

เรื่องนี้ ถ้าเป็นผมนะ  อยู่เงียบๆ ดีกว่า ไม่น่ามาแสดงความงมงายในวิทยาศาสตร์อย่างนี้เลย  ควรจะเปิดใจกว้างๆ ว่า

เหตุการณ์นี้เป็นความจริง เพราะยังพิสูจน์ผิดไม่ได้  ถ้าเมื่อไหร่พิสูจน์ได้ว่า มีการหลอกลวง ไม่เป็นจริง ถึงค่อยฟันธงว่าไม่จริง

ข้อความที่กล่าวสรุปไปนั่น เป็นหลักการของ “ปรัชญาวิทยาศาสตร์”  หรือนักวิทยาศาสตร์คนใดจะเถียงว่าที่ผมสรุปไปนั่น “ไม่จริงก็ว่ามา” ........



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น