บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

พญานาค



วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้บรรยายเกี่ยวกับพญานาคไว้ดังนี้


นาค หรือ พญานาค เป็นความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเรียกชื่อต่าง ๆ กัน แต่มีลักษณะร่วมกัน คือ เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน

เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย

ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ

นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล

และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลา

มีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง

และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร

นาคจำพวกนี้ จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร

อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่า มีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในนำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่

มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม

วิพากษ์วิจารณ์

ผมมีประสบการณ์กับพญานาคมากพอสมควร ถึงได้มาเขียนบทความชุดนี้

ที่ว่า “พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร” นั้น ไม่รู้ว่าจะจริงหรือเปล่า เพราะ ไม่ได้เกี่ยวกับศาสนาพุทธ

พระนารายณ์เป็นเทพชั้นสูงของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งในทัศนะของพุทธเถรวาทแล้ว พระนารายณ์ต้องไม่มีจริง

แต่คนในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูน่าจะทำสมาธิจนเห็นพญานาคได้เช่นเดียวกัน จึงมีการบรรยายถึงพญานาคไว้เป็นจำนวนมาก

พญานาคกับตำนานในพระพุทธศาสนา

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน

คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อมุจลินทร์ เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย

หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นชายหนุ่มยืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า

ความเชื่อดังกล่าวทำให้เป็นที่มาของการสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา

ตำนานนี้ น่าจะเป็นความจริง

พญานาค เป็นสะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาค กับ รุ้ง เป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง

ตำนานนี้ น่าจะไม่จริง

นาคสะดุ้ง ซึ่งเป็นประติมากรรมที่ราวบันไดโบสถ์นั้นได้สร้างขึ้นตามความเชื่อถือ "บันไดนาค" ก็ด้วยความเชื่อดังกล่าว

แม้ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ก็โดยบันไดแก้วมณีสีรุ้ง ที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาคจำนวน 2 ตน เอาหลังหนุนบันไดไว้

ตำนานนี้ น่าจะแต่งเติมเสริมต่อกันเข้าไป เพื่อให้เรื่องดูมันมากขึ้น

ตุง ในวัฒนธรรมของล้านนาและพม่า ก็เชื่อกันว่าคลี่คลายมาจากพญานาค และหมายถึงบันไดสู่สวรรค์

ความเชื่อของชาวฮินดู ก็ถือว่า นาคเป็นสะพานเชื่อมภาวะปกติ กับที่สถิตของเทพ ทางเดินสู่วิษณุโลก เช่น ปราสาทนครวัด จึงทำเป็น พญานาคราช ที่ทอดยาวรับมนุษย์ตัวเล็กๆ สู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์

หรือบั้งไฟของชาวอีสานที่ทำกันในงานประเพณีเดือนหก ก็ยังทำเป็นลวดลาย และเป็นรูปพญานาค พญานาคนั้นจะถูกส่งไปบอกแถนบนฟ้าให้ปล่อยฝนลงมา

ตรงนี้ ไม่มีความเห็น

ในสมัยพระพุทธเจ้า มีพญานาคตนหนึ่งนั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วได้เกิดศรัทธา จึงได้แปลงกายเป็นมนุษย์ขอบวชเป็นพระภิกษุ

แต่อยู่มาวันหนึ่งเข้านอนในตอนกลางวัน หลังจากหลับแล้วมนต์ได้เสื่อมกลายเป็นงูใหญ่ จนพระภิกษุรูปอื่นไปเห็นเข้า

ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงให้พระภิกษุนาคนั้นสึกออกไป เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียกผู้ที่เข้ามาขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธาของตน

ต่อจากนั้นมาพระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติไม่ให้สัตว์เดรัจฉาน ไม่ว่าจะเป็นนาค ครุฑ หรือสัตว์อื่นๆ บวชอีกเป็นอันขาด

และก่อนที่อุปัชฌาย์จะอุปสมบทให้แก่ผู้ขอบวชจะต้องถาม อันตรายิกธรรม หรือข้อขัดข้องที่จะทำให้ผู้นั้นบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้ รวม 8 ข้อเสียก่อน

ในจำนวน 8 ข้อนั้น มีข้อหนึ่งถามว่า "ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า" และจึงเรียกการบวชนี้ว่า "บวชนาค"

ตรงนี้ ผมยอมรับว่า “ไม่รู้จะว่าอย่างไร” เหมือนกัน คือ ถ้าว่า “นาค” ตนนั้น ขอบวชกับพระพุทธเจ้าก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะ พระพุทธองค์ต้องรู้แน่ๆ  ถ้าคิดเฉพาะเรื่องนี้ ส่วนนี้ก็ไม่น่าจะเป็นความจริง

แต่ให้คำขอบวชนั้น ก็มีข้อความว่า  “ท่านเป็นมนุษย์หรือเปล่า” จริง  เลยยังไม่มีความรู้ที่จะนำมาเผยแพร่

ประเด็นที่ผมจะนำมาเสนอในบทความชุดนี้นั้น เป็นเรื่องที่ผมมีเพชรพญานาคอยู่หลายลูก และในนั้นมีจักรพรรดิที่เป็นพญานาคมาก่อน มาอยู่ร่วมสร้างบารมีกับผมด้วย

ผมได้ฝึกให้เด็กนักเรียนดูจักรพรรดิในเพชรพญานาค และนักเรียนก็วาดภาพมาให้ดู  เมื่อผมได้นำเพชรพญานาคชุดนี้ ไปให้เณรที่วัดจันทร์ตะวันตก จังหวัดพิษณุโลกดู ปรากฏว่า ท่านพญานาคแสดงฤทธิ์ด้วยการมัดเณรจนหงายท้องไปเลย

ผมจึงต้องนำความรู้ดังกล่าวมาเผยแพร่และแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน..............



1 ความคิดเห็น:

  1. เรื่องการบวชนาคนั้น น่าจะหมายถึง ตอนที่ศาสนาพุทธเข้ามาในอินโดจีนแรกๆ ชาวอินโดจีน (ยุคนั้นน่าจะเป็นพวกมอญ-เขมร ไม่น่าจะใช่พวกไท-ลาว) ยังนับถือผีอยู่ และไม่นุ่งผ้ากัน ชาวอินเดียเลยเรียกชาวอินโดจีนว่า "นาค" (Naga - Snake) แปลว่างู แปลอีกอย่างว่าแก้ผ้า ชาวอินโดจีนที่เห็นชาวอินเดียนุ่งโจงกระเบน ก็เลยหันมานุ่งตาม
    กุศโลบายที่ชาวอินเดียใช้ในการเผยแผ่ศาสนาพุทธในภูมิภาคนี้ ก็คือ ต้องบวชนาคให้ชาวเอเชียอาคเนย์ก่อนที่จะบวชเป็นพระ

    นี่น่าจะเป็นที่มาของการบวชนาคในประเทศไทย และเป็นคำตอบว่าทำไมถึงไม่มีในที่อื่น ผมคิดว่าอย่างนั้นครับ

    ตอบลบ